แนะนำโรงเรียน



ประวัติโรงเรียน 


     ความเป็นมา ของโรงเรียนเบตง “วีระราษฎร์ประสาน”

     วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 โรงเรียนได้เปิดทำการเรียนการสอนวิชาสามัญ สังกัดกรมวิสามัญศึกษา โดยอาศัยอาคารเรียนส่วนหนึ่งของโรงเรียนมัธยมศึกษา (ย.ล.6) สังกัดกรมสามัญศึกษา ปัจจุบัน คือ โรงเรียนบ้านเบตง “สุภาพอนุสรณ์” มีจำนวนนักเรียน 28 คนเป็นชาย 17 คน หญิง 11 คน นายถาวร วิบูลพันธ์ ศึกษาธิการอำเภอเบตงในขณะนั้น ได้ยืมตัวนายสุรัช ศิลากุล ครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลตำบลเบตง มาทำการสอนและรักษาราชการในตำแหน่งครูใหญ่ 

     พ.ศ. 2501 ได้งบประมาณจากกรมวิสามัญศึกษา จำนวน 100,000 บาท สร้างอาคารเรียน 2 ชั้น 4 ห้องเรียน ซึ่งที่ดินที่สร้างโรงเรียนนั้น ได้รับบริจาคจาก นายวีระ ตัณฑปุตตะ เนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ 2 งาน 75 ตารางวา (ปัจจุบันเหลือที่ 9 ไร่ 1 งาน 93 ตารางวา) และให้มีชื่อผู้บริจาคเป็นมงคลนามแก่โรงเรียนว่า โรงเรียนเบตง “วีระราษฎร์ประสาน” พร้อมทั้งได้ย้ายนักเรียนวิสามัญศึกษาจากโรงเรียน ย.ล.6 มาเรียนที่นี่จนถึงปัจจุบัน
     พ.ศ. 2503 ได้รับงบประมาณจากกรมวิสามัญศึกษาและงบประมาณ ของสี่จังหวัดภาคใต้ สร้างต่อเติมอาคารเรียนเดิม จำนวน 20 ห้องเรียน ปัจจุบัน คือ อาคารเรียน 1 เป็นอาคาร 2 ชั้น แบบ 220/18
     พ.ศ. 2509 โรงเรียนได้ร่วมในโครงการ ค.ม.ช.
     พ.ศ. 2519 โรงเรียนได้เปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
     พ.ศ. 2520 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 318 ก 18 ห้องเรียน ปัจจุบัน คือ อาคารเรียน 2
     พ.ศ. 2524 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 318 ค 18 ห้องเรียน ปัจจุบัน คือ อาคารเรียน 3
     พ.ศ. 2529 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารโรงฝึกงานแบบ 406/27 6 หน่วย ปัจจุบันคือ อาคารเรียน 4
     พ.ศ. 2530 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างโรงอาหาร หอประชุม แบบมาตรฐาน 101 ล/27
     พ.ศ. 2536 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 324 ล
     พ.ศ. 2538 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเอนกประสงค์ 4 ชั้น
     นอกจากโรงเรียนเบตง “วีระราษฎร์ประสาน” ยังเป็นสถานศึกษาที่ให้การอบรมด้านคอมพิวเตอร์
และอินเตอร์แก่หน่วยงาน และบุคคลทั่วไปในอำเภอเบตง
ปัจจุบัน โรงเรียนเบตง “วีระราษฎร์ประสาน” ตั้งอยู่เลขที่ 19 ถนนรวมวิทย์ ตำบลเบตง
อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ที่ตั้ง โรงเรียนเบตง “วีระราษฎร์ประสาน” ตั้งอยู่เลขที่ 19 ถนนรวมวิทย์
โทรศัพท์ 0 - 7323 -0449 โทรสาร 0 – 7323 - 1381

      ทิศเหนือ จด ถนนประชาธิปัตย์ ทิศใต้ จด ที่ดินเอกชน
      ทิศตะวันออก จด ถนนรวมวิทย์ ทิศตะวันตก จด ที่ดินเอกชน 


ปรัชญาโรงเรียน

     “สะอาด ขยัน ประหยัด พัฒนา สำนึกในหน้าที่
และมีความรับผิดชอบ เป็นคุณสมบัติของชาววีระราษฎร์”



คติพจน์ประจำโรงเรียน

อ เสวนา จ พาาลานํ การไม่คบคนพาล  เป็นมงคลอันสูงสุด 

คำขวัญของโรงเรียน

เรียนดี กีฬาเด่น มารยาทเป็นเลิศ

สีประจำโรงเรียน

สีชมพู-ขาว
     สีชมพู – หมายถึง สัญลักษณ์แห่งความรู้ ความรัก หมายถึงรักในความรู้และความเป็นเมธี ความดีทั้งมวล
     สีชมพู – ขาว จึงหมายถึง ปณิธาน ของชาวเบตง “วีระราษฎร์ประสาน” ในอันที่จะเสาะแสวงหา ความรู้ และความเป็นเมธีแห่งตน อย่างกล้าหาญ อดทน เสียสละและมีสติ ด้วยความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

อักษรย่อชื่อโรงเรียน

     ใช้อักษรย่อว่า “ว.ส.”


เพลงมาร์ชโรงเรียนเบตง “วีระราษฎร์ประสาน”

     เนื้อร้อง และทำนอง นายอาทิตย์ ศรีสุทธิสอาด

วีระราษฎร์ของเราที่ระบือ ถิ่นนี้คือที่ให้แสงปัญญา
ดูงามเลิศสมเป็นแหล่งศึกษา อบรมมาให้ค่าชีวิตคน
การเรียนเด่นใครเห็นต่างชื่นชม ฝึกอบรมให้มีศีลธรรม
มีระเบียบวินัยที่เลิศล้ำ เพื่อชี้นำให้เราเป็นคนดี
ชมพูนั้นหรือคือสีแห่งดวงจิต ขาว คือมิตรที่ผูกพันธ์มั่นศักดิ์ศรี
พ่อโต๊ะนิที่เคารพเหนือชีวี ร่วมภักดีของเหล่าชนทั่วไป
มาร่วมจิตพลังสามัคคี อย่าให้มีร้าวฉานในหัวใจ
วีระราษฎร์นั้นต้องก้องเกียรติไกร ด้วยน้ำใจมอบไว้โรงเรียนเรา                     

วิสัยทัศน์

โรงเรียนและชุมชนจัดการศึกษาโดยพัฒนาระบบงาน
ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ด้านวิชาการ เทคโนโลยี และพื้นฐานอาชีพ
มีคุณธรรม จริยธรรม สืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์
เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานการศึกษา 

พันธกิจ

1. พัฒนาระบบการบริหารการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพโดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
2. จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
3. จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม
4. จัดกิจกรรมสืบสานศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5. ส่งเสริมการออกกำลังกายและดูแลสุขภาพรวมทั้งป้องกันแก้ไขปัญหาสารเสพติด

เป้าประสงค์

เพื่อให้โรงเรียนมีระบบการบริหารการจัดการศึกษา ที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ ยอมรับ ของชุมชน และสนับสนุนให้เยาวชน เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้เห็นคุณค่าของศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่สมบูรณ์แข็งแรงสามารถยืนหยัดอยู่ในสังคม ได้อย่างมีความสุข 










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น